วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้

บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        การสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์จะช่วยให้นักเรียน รู้จักการให้เหตุผล การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงปัญหา ทำให้นักเรียนสามารถให้เหตุผลในเรื่องต่างๆได้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติ ซึ่งการสอนให้นักเรียนรู้จักคิดนี้  เป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตจริงในสังคม ทักษะชีวิต การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีประโยชน์กว่าการสอนให้นักเรียน ท่องแล้วจำ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เหตุผลที่มาที่ไปบทสรุปของเนื้อหาได้ เพราะการเรียนการสอนที่นักเรียนไม่สามารถ คิดได้ เมื่อนักเรียนไปเจอปัญหา ที่แตกต่างไปจากเดิม ก็ไม่สามารถ แก้ปัญหานั้นได้

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
       ในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การให้เหตุผล การเชื่อมโยงเหตุผล เป็นการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยทักษะด้านคณิตศาสตร์และเนื้อหาในบางเรื่องของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผลอย่าง เช่น ในเรื่อง ความน่าจะเป็น การเรียงสับเปลี่ยน การเปลี่ยนกลุ่ม การแก้โจทย์ปัญหา เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีที่มาที่ไปของทุกๆ ปัญหา  ทุกอย่างเดินเนินการไปอย่างมีเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ การสอนที่ทำให้นักเรียนรู้จักคิดจึง สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ทุกเนื้อหาอยู่แล้ว
    
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
        ในการออกแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในอนาคตที่จะทำให้นักเรียนได้มีทักษะกระบวนการในการคิด ได้นั้นเราซึ่งเป็นครูผู้สอนจะต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ จนไปถึงปัญหาที่มีความยากมากกว่าเดิม ในการสอนคณิตศาสตร์เราก็ต้องฝึกให้นักเรียนคิดหลายๆรูปแบบที่แตกต่างไปจากวิธีการที่เราสอน เพราะการที่จะได้มาซึ่งคำตอบทางคณิตศาสตร์นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผนเสมอไป แต่เราสามารถเปิดโอกาสให้นักเรียนคิด หาวิธีการได้ด้วยตนเอง อย่าง เช่น  ให้ปัญหานักเรียนไปหนึ่งข้อ แล้วบอกผลเฉลยของปัญหา แล้วให้นักเรียนลองหาวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลเฉลยของปัญหาด้วยตนเอง การทำเช่นนี้ก็จะทำให้นักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตนเอง และมีวิธีการแต่แตกต่างกันไปของนักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนคิดเองได้ คิดเป็น ทำเป็น  ประยุกต์ ใช้ได้ เชื่อมโยงได้

ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนแต่วิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนแล้ว เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ต้องสอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน เนื้อหาในชีวิตทักษะการใช้ชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสอนในเรื่องการวัดการตวง เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้ไปใช่ในการเดินเนินชีวิตการประกอบอาชีพได้
     
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
       ในการออกแบบการเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดนี้ ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกๆด้าน สามารถนำวิชาคณิตศาสตร์ไปประยุกต์เชื่อมโยงในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่าง เช่น  การเรียนเรื่องอัตราส่วน ก็ต้องให้นักเรียนประยุกต์ใช้ได้จริง มีการตั้งคำถาม ว่าที่บ้านนักเรียนมีพื้นที่เท่าไร มีการปลูกอะไรบ้าง แต่ละอย่างปลูกเป็นกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดและเพียงพอต่อความต้องการของคนในครอบครัวหรือไม ถ้าไม่ควรปลูกอะไรเพิ่ม เพิ่มหรือลดอะไร เป็นกี่ส่วน เรื่องต้องออกแบบพื้นที่ใหม่เป็นกี่ส่วนอย่างไรให้มีความพอดี และเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ่มค่าที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น