วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน


กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน
ให้นักเรียนอ่านบทความแล้วดำเนินการดังนี้

บทความเรื่อง สอนแนะให้รู้จักคิดรูปแบบหนึ่งการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        การสอนให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์จะช่วยให้นักเรียน รู้จักการให้เหตุผล การแก้ปัญหา การเชื่อมโยงปัญหา ทำให้นักเรียนสามารถให้เหตุผลในเรื่องต่างๆได้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในระดับชาติ ซึ่งการสอนให้นักเรียนรู้จักคิดนี้  เป็นกระบวนการคิดที่ต้องใช้ในการดำเนินชีวิตจริงในสังคม ทักษะชีวิต การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีประโยชน์กว่าการสอนให้นักเรียน ท่องแล้วจำ แต่ไม่สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ให้เหตุผลที่มาที่ไปบทสรุปของเนื้อหาได้ เพราะการเรียนการสอนที่นักเรียนไม่สามารถ คิดได้ เมื่อนักเรียนไปเจอปัญหา ที่แตกต่างไปจากเดิม ก็ไม่สามารถ แก้ปัญหานั้นได้

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
       ในการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การให้เหตุผล การเชื่อมโยงเหตุผล เป็นการเรียนการสอนที่ต้องอาศัยทักษะด้านคณิตศาสตร์และเนื้อหาในบางเรื่องของคณิตศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องของการคิดวิเคราะห์ การให้เหตุผลอย่าง เช่น ในเรื่อง ความน่าจะเป็น การเรียงสับเปลี่ยน การเปลี่ยนกลุ่ม การแก้โจทย์ปัญหา เพราะวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีที่มาที่ไปของทุกๆ ปัญหา  ทุกอย่างเดินเนินการไปอย่างมีเหตุและผล สามารถพิสูจน์ได้ การสอนที่ทำให้นักเรียนรู้จักคิดจึง สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ทุกเนื้อหาอยู่แล้ว
    
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
        ในการออกแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในอนาคตที่จะทำให้นักเรียนได้มีทักษะกระบวนการในการคิด ได้นั้นเราซึ่งเป็นครูผู้สอนจะต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักคิดตั้งแต่ปัญหาเล็กๆ จนไปถึงปัญหาที่มีความยากมากกว่าเดิม ในการสอนคณิตศาสตร์เราก็ต้องฝึกให้นักเรียนคิดหลายๆรูปแบบที่แตกต่างไปจากวิธีการที่เราสอน เพราะการที่จะได้มาซึ่งคำตอบทางคณิตศาสตร์นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผนเสมอไป แต่เราสามารถเปิดโอกาสให้นักเรียนคิด หาวิธีการได้ด้วยตนเอง อย่าง เช่น  ให้ปัญหานักเรียนไปหนึ่งข้อ แล้วบอกผลเฉลยของปัญหา แล้วให้นักเรียนลองหาวิธีการที่จะได้มาซึ่งผลเฉลยของปัญหาด้วยตนเอง การทำเช่นนี้ก็จะทำให้นักเรียนสามารถคิดได้ด้วยตนเอง และมีวิธีการแต่แตกต่างกันไปของนักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียน เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนคิดเองได้ คิดเป็น ทำเป็น  ประยุกต์ ใช้ได้ เชื่อมโยงได้

ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของดร.สุเมธ ตันติเวชกุล วารสารทักษิณ

1.ข้อสรุปที่ได้จากบทความ
        ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นครูของแผนดิน เพราะท่านทรงสอนประชาชนของท่านในทุกๆเรื่อง ดังตัวอย่างโครงการมากมายที่ท่านได้ทรงคิดขึ้นมานอกจากท่านจะคิดแล้วท่านยังทำให้ดูอีกด้วย ทรงทำให้เห็นว่าการเป็นครูนอกจากการเรียนการสอนนอกชั้นเรียนแล้ว การทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง การให้นักเรียนได้เห็นเนื้อหาของวิชาที่แท้จริง โดยการทำให้ดูรวมถึงการฝึกให้นักเรียนคิดด้วยตนเองคิดได้คิดเป็น นอกจากนี้การเป็นครูที่ดีจะต้องปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้นักเรียนด้วย รวมถึงเปิดใจกว้างยอมรับความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ ฝึกฝนพัฒนาตนเองให้มีความรู้ก้าวหน้า ทันกับสภาพแวดล้อมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ในความพอดีพอเพียงด้วย

2.ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
          ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนแต่วิชาคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนแล้ว เราต้องฝึกให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ต้องสอนนักเรียนให้ครบทุกๆด้าน ทั้งเนื้อหาในวิชาที่เรียน เนื้อหาในชีวิตทักษะการใช้ชีวิต เป็นตัวอย่างที่ดีให้นักเรียน ทำให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง เช่น การสอนในเรื่องการวัดการตวง เราก็ต้องให้นักเรียนได้ลองปฏิบัติได้ด้วยตนเอง นำสิ่งที่ได้ไปใช่ในการเดินเนินชีวิตการประกอบอาชีพได้
     
3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่ที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร 
       ในการออกแบบการเรียนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดนี้ ครูผู้สอนจะต้องออกแบบการสอนที่สามารถเชื่อมโยงได้ทุกๆด้าน สามารถนำวิชาคณิตศาสตร์ไปประยุกต์เชื่อมโยงในการใช้ชีวิตได้ ตัวอย่าง เช่น  การเรียนเรื่องอัตราส่วน ก็ต้องให้นักเรียนประยุกต์ใช้ได้จริง มีการตั้งคำถาม ว่าที่บ้านนักเรียนมีพื้นที่เท่าไร มีการปลูกอะไรบ้าง แต่ละอย่างปลูกเป็นกี่ส่วนของพื้นที่ทั้งหมดและเพียงพอต่อความต้องการของคนในครอบครัวหรือไม ถ้าไม่ควรปลูกอะไรเพิ่ม เพิ่มหรือลดอะไร เป็นกี่ส่วน เรื่องต้องออกแบบพื้นที่ใหม่เป็นกี่ส่วนอย่างไรให้มีความพอดี และเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ่มค่าที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 7


กิจกรรมที่ 7
โทรทัศน์ครู

 สอนเรื่องอะไร  ผู้สอนชื่อ  ระดับชั้นที่สอน

       สอนคณิตศาสตร์เรื่องร้อยละ เปอร์เซ็น การลดราคา
       คุณครูผู้สอนชื่อ คุณครูบริสุทธิ์ธรรม พิมพ์ศิริ
       ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่5

เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง
       สอนคณิตศาสตร์โดยใช้เรื่องการลดราคาที่พบเห็นอยู่ในชีวิตประจำวันทุกวันเวลาที่ไปซื้อของตามห้างสรรพสินค้า จะเห็นป้ายลดราคาอยู่ จะอธิบายถึงความหมายของร้อยละ และสอนให้เทียบบัญญัติไตรยางค์เข้ามาช่วยในการแก้โจทย์

จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
ด้านสติปัญญา=IQ                                                                                                                        
       นักเรียนมีความรู้เรื่องการลดราคา  ร้อยละ เปอร์เซ็น เศษส่วน  อธิบายความหมายของร้อยละ สามารถนำความรู้ เรื่องการลดราคามาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงๆในการซื้อสินค้า  ตามห้างสรรพสินค้าได้
อารมณ์=EQ
      นักเรียนมีอารมณ์แจ่มใส่เกิดความสนุกสนานในการเรียน ไม่เครียด มีอารมณ์ร่วมในการเรียนการสอนทำให้การสอนดำเนินไปได้ด้วยดี
คุณธรรมจริยธรรม=MQ
        นักเรียนมีความร่วมมือในการจักการเรียนการสอนมีส่วนรวมในการทำกิจกรรม มีน้ำใจช่วยเหลือกันในการตอบคำถาม การทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน

 บรรยากาศการจัดห้องเรียน เป็นอย่างไร
       การจัดโต๊ะนั่งจะจัดเป็นกลุ่มให้นักเรียนนั่ง เรียนเป็นกลุ่ม ห้องเรียนโล่งสบาย มีมุมหนังสือ
มุมนั่งเล่น มุมจัดบอร์ด ทุกอย่างถูกจัดเป็นสัดส่วน


กิจกรรมที่ 6

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 5

ครูที่ชอบ



ประวัติ


ชื่อ นายสุริยา โนนเสนา 
เกิดวันที่ 16 มีนาคม 2512
เป็นบุตรของคุณพ่อคำภา  โนนเสนา   คุณแม่ทอง โนนเสนา
มีพี่น้อง 5 คน
     1.นายสุริยา  โนนเสนา   ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา
ศษ.ม.การบริหารการศึกษา
     2.นายสุรสิทธิ์  โนนเสนา  รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโนนศิลา กำลังศึกษาต่อปริญญาโท
     3.นายพรลิขิต  โนนเสนา  ประกอบอาชีพส่วนตัว
     4.นางอริสรา แสงพันธ์ตา   โรงเรียนบ้านหันศิลางาม 
     5.นางสาวอัจฉรา  โนนเสนา   ทำงานครูศุนย์พิริยา-นาวิน
กรุงเทพมหานคร


ประวัติการศึกษา

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
       โรงเรียนบ้านหัน (โรงเรียนบ้านหันศิลางาม)      อ.โนนศิลา     จ.ขอนแก่น
จบชั้นมัยมศึกษาปีที่ 6
        โรงเรียนบ้านไผ่ (ข.ก.5)       อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
จบการศึกษาปริญญาตรี
        วิชาเอกเทคโนโลยีนวัตกรรมทางการศึกษา
        วิขาโท ภูมิศาสตร์ วิทยาลัยครูอุดรธานี 
        คุณวุฒิสูงสุด ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
        วิชาเอก การบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยรามคำเเหง

ประวัติการทำงาน

 การรับราชการ
      16 พฤศจิกายน 2536 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
      1 ตุลาคม 2539 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านท่าโป่ง สปจ.ชัยภูมิ
      23 มกราคม 2541 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      1 ตุลาคม 2542 อาจารย์ 1 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      1 เมษายน 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สปจ.ชัยภูมิ
      7 กรกฎาคม 2546 อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านวังกะทะ สพท.ชัยภูมิ เขต 3
      23 มี.ค.2548- 3พ.ย.2548      ช่วยราชการโรงเรียนสังวาลย์วิท 7
                                         อำเภอบางขัน สพท.นศ.2
     1 พฤศจิกายน 2547         อาจารย์ 2 โรงเรียนบ้านควนประ สพท.นศ.2
      24 ธันวาคม 2547          ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
     1 กุมภาพันธ์ 2549         ครู คศ. 2 โรงเรียนบ้านควนประ
     16 สิงหาคม 2549 ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคลองปีกเหนือ
                               / ชำนาญการ คศ. 2
     29 สิงหาคม 2551 ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / คศ. 2
     1 ตุลาคม 2551      ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
    1 เมษายน 2552     ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ /  คศ. 2
    28 กันยายน 2552 ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดถ้ำใหญ่ / 
                                คศ. 3 ชำนาญการพิเศษ
     3 พฤศจิกายน 2553 ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งควายพัฒนศึกษา
                                 คศ.3 ชำนาญการพิเศษ

ผลงานที่ชอบ

      ได้รับรางวัลครูคณิตศาสตร์ดีเด่น

การประยุกต์ใช้ 

       ทำให้เรามีเเรงจูงใจในการที่จะเป็นครูคริตศาสตร์ที่ดี จนได้รับรางวัลเหมือนอาจารย์ผู้สอนตัวอย่าง  สามารถเอาเเนวคิดหลักการทำงานของท่านมาใช่ในการสอนนักเรียนต่อไปเมื่อจบการศึกษาออกมาเป็นครู

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่4

กิจกรรมที่ 4

 1. แนวคิดหลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร 

       จะเชื่อว่าไม่มีคนสองคนที่เหมือนกันทุกด้าน การทำงานเป็นทีมจะต้องยอมรับความเเตกต่างของบุคคลทางด้านความเชื่อ ค่านิยม สิ่งที่เรียนรู้ ประสบการณ์ เเละร่วมถึงทางด้านร่างการจิตใจ อารมณ์ความรู้สึกบุคลิภาพ เเรงจูงใจของมนุษย์ในด้านต่างๆ ด้านสังคม ต้องการเป็นที่ยอมรับ ต้องการสมหวัง ความต้องการทาด้านร่างกาย เป็นต้น เเละทางด้านธรรมชาติของมนุษย์ฟฤติกรรมต่างๆที่เเสดงออกมามนุษย์เเต่ละคนมีธรรมชาติที่เเตกต่างกัน


 2. นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร  ยกตัวอย่างประกอบ

        การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพนั้นผู้ร่วมงานจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์เเละเป้าหมายของการทำงานอย่าชัดเจน มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ มีใจที่กว้างรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่นสามาชิกในทีม มีความไว้ใจเชื่อใจซึ่งกันเเละกันในกลุ่มสมาชิก สร้างความขัดเเย้งที่สร้างสรรค รู้จักตนเองผู้อื่น เข้าใจสมาชิกในกลุ่มเเละสามารถร่วมกลุ่มกันได้เป็นอย่างดี

กิจกรรมที่3

กิจกรรมที่ 3

 คำถาม 
        
1. การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21 เปรียบเทียบกันแตกต่างกันอย่างไร 


         การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคก่อนศตวรรษที่ 21เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต ดังนั้นเมื่อถึงระยะหนึ่ง การเรียนรู้ก็จะสิ้นสุดลงเพื่อการเริ่มต้นของชีวิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในโรงเรียน ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษหรือมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ จะจัดการเรียนการสอนขึ้นเเต่ในโรงเรียนโดยมีการเขียนเเผนการสอนเนื้อหาไว้เเล้ว โรงเรียนจะเป็นผู้ที่สอนให้บุคคลมีความเป็นมนุษย์ที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เพื่อพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า 
          การจัดการเรียนการสอน จัดชั้นเรียน เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21 จะเป็นการจัดการเรียนการสอนเเบบตลอดชีวิต 
โดยมีเเนวคิดว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตเเละสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ทุกที่ การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนต้องมีความหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนในเเต่ละคน ที่คนมีสิทธิที่จะเลือกสิ่งที่สนใจหรือต้องการจะศึกษา เพราะทุกคนมีความสามรถในการคิดการจดจำที่ต่างกัน สังคมจะเป็นตัวช่วยในการทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เเบบขึ้น




       2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา


       ครูผู้สอนในอนาคตจะต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี่ที่ทันสมัย ในการใช้เครืองมือเทคโนโลยีต่างๆ ค้นหาความรู้ถ่ายทอดความรู้ สร้างเครื่องมือในการเรียนการสอน เพื่อสร้างเเรงจูงใจในการเรียนรู้ให้เเก่ผู้เรียน ทำให้การเรียนดีขึ้นสามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังชุมชนสังคมได้ มีการร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนรวมกับชุมชน มีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน