วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่2

กิจกรรมที่2
ทฤษฎีการบริหารการศึกษา


ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ ขั้น
       มาสโลว์ เป็นเจ้าของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ ลำดับ ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น ระดับด้วยกัน ได้แก่ 
     1.ความต้องการทางกายภาพ (Physiological Needs) 
     2.ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)  
     3. ความต้องการทางสังคม (Social Needs) 
     4.ความต้องการยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) 
     5.ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)

มาสโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
    1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ 
    2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป 
    3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ



Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี และทฤษฎี Y
          อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ในความเป็นจริงของคนทุกคนไม่มีใครจะร้ายอย่างบริสุทธิ์ คือไม่มีข้อดีเลย คงไม่มี และในทางกลับกัน ก็คงไม่มีใครที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์

         ทฤษฎี X(Theory X) เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ไม่ชอบงานและพยายามหลีกเลี่ยงงาน
         ทฤษฎี Y(Theory Y) เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
        แมคเกรเกอร์ ได้เรียกร้องให้ผู้บริหารเปลี่ยนแปลงมุมมองมนุษย์จากมุมมองตามทฤษฎี ไปเป็นมุมมองตามทฤษฎี Y










 William Ouchi : ทฤษฎี Z
        ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน คุณวิลเลียม โอชิ ซึ่งเป็นชาวซามูไร เป็นคนคิดขึ้นมา ทฤษฎี บางตำราอาจจะเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ 
การที่จะทำความเข้าใจทฤษฎี ได้นั้น ต้องทำความเข้าใจของทฤษฎี และทฤษฎี ก่อน
        ทฤษฎี คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต
        ทฤษฎี คือ การบริหารจัดการแบบญี่ปุ่น ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า 1.) การจ้างงานตลอดชีวิต หรือ Lifetime Employment มีการเลื่อนตำแหน่ง มีความผูกพันกัน

         วิลเลี่ยม โอชิ ได้นำทฤษดฎีข้างต้น ที่เรียกว่า Blend Together หรือการนำมาผสมผสานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน เรียกว่า ทฤษฎี Z ซึ่งเป็นแนวคิดของการบริหารจัดการเชิงจินตนาการ โดย 
       1.) ใช้วิธีแบบ Long Term Employment หรือการจ้างงานระยะยาวขึ้น ซึ่งเป็นทางสายกลาง 
       2.) ประการที่สอง จะต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Individaul Responsibility คือ จะต้องมีความรับผิดชอบส่วนบุคคล ซึ่งนำเอาหลักแนวคิดแบบอเมริกันมาใช้กับบุคลากรในหน่วยงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง 
       3.) และประการที่ คือ ต้องมี Concential Decision Making คือ การตัดสินใจต้องทำเป็นทีม ต้องมีการพูดคุย ถึงผลดีผลเสียของการบริหารจัดการแบบต่างๆ



Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่
        เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ(Operational management theory)
หรือบางทางก็ถือกันว่าเป็นบิดาของการบริหารจัดการสมัยใหม่
เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ (Managerial activities) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมห้าอย่างคือ
     1. การวางแผน(Planning)
     2. การจัดองค์การ(Organizing)
     3. การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ (Commanding)
     4. การประสานงาน (Coordinating)
     5. การควบคุม (Controlling)



Max Weber : ทฤษฎีการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucratic Management)

       แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy  โดยสรุปแล้วแนวคิดการจัดองค์กรของเว็บเบอร์มี ประการมีดังนี้ คือ
     1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ น(Division of labor)
     2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับชั้น ( Authority Hierarchy) 

     3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็นทางการ ( Formal Selection) 
     4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ (Formal Rules and Regulations) 
     5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ( Impersonality) ความจริงคำว่า impersonality 

     6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ (Career Orientation) 


Luther Gulick : POSDCORB
        Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม ประการมาใช้ในการบริหารจัดการ กิจกรรมทั้ง ประการมีคำย่อว่า POSDCORB(CO คือคำเดียวกัน) มีการนำรูปแบบการบริหารจัดการของLuther Gulick ไปใช้ในการบริหารองค์กรสมัยใหม่อย่างกว้างขวาง แนวความคิดที่นำเอามุมมองทั้ง ด้านมาใช้นั้นสอดคล้องกับทฤษฎีการบริหารจัดการของ Henri Fayol , Frederick W.Taylor และ Max Weber

คือการวางแผน (planning) หมายถึงการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่าควรทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อะไร และจะดำเนินการอย่างไร
คือการจัดองค์การ (organizing) หมายถึงการจัดตั้งโครงสร้างอำนาจอย่างเป็นทางการภายในองค์การเพื่อประสานงานหน่วยทำงานย่อยต่าง ๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์การได้
คือการสั่งการ (directing) หมายถึง การที่หัวหน้าฝ่ายบริหารมีหน้าที่ต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาโดยพยายามนำเอาการตัดสินใจดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นคำสั่งและคำแนะนำนอกจากนี้ ยังหมายถึงการที่หัวหน้าฝ่ายบริหารต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำขององค์การ
คือการบรรจุ (staffing) หมายถึง หน้าที่ด้านบริหารงานบุคคลเพื่อฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมบรรยากาศในการทำงานที่ดีไว้
CO คือการประสานงาน(co-ordinating) หมายถึง หน้าที่สำคัญต่าง ๆ ในการประสานส่วนต่าง ๆ ของงานให้เข้าด้วยกันอย่างดี 
คือการรายงาน (reporting) หมายถึง การรายงานความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในองค์การให้ทุกฝ่ายทราบ ทั้งนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การวิจัยและการตรวจสอบ
คือการงบประมาณ (budgeting) หมายถึงหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวของกับงบประมาณในรูปของการวางแผนและการควบคุมด้านการเงินการบัญชี


Frederick Herzberg : ทฤษฎี ปัจจัย (Two Factors Theory)
        ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)
เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน เขาได้ศึกษาโดยการสัมภาษณ์พนักงานในเรื่องของความพึงพอใจจากการทำงาน สรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย ปัจจัย คือ
     1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors
     2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
ปัจจัยภายนอก(Hygiene Factors) ได้แก่ 
นโยบายขององค์กร 
การบังคับบัญชา 
ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน 
สภาพแวดล้อม/เงื่อนไขในการทำงาน 
ค่าจ้าง/เงินเดือน/สวัสดิการ 
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน 
ปัจจัยภายใน(Motivation Factors) ได้แก่
การทำงานบรรลุผลสำเร็จ
การได้รับการยอมรับ
ทำงานได้ด้วยตนเอง
ความรับผิดชอบ
ความก้าวหน้าในงาน
การเจริญเติบโต



Frederick W. Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์
       เทย์เลอร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 
      1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง
      2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
      3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
     4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงานเป็นส่วนต่าง ๆ




Frank B. & Lillian M. Gilbreths : Time – and – Motion Studies
       แนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง (the o­ne best way to do work) การศึกษาที่สำคัญคือลักษณะการเคลื่อนไหวของร่างกายในการทำงาน (Motion Study)ผังกระบวนการทำงาน (Work Flow Process Chart)





วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารหารศึกษา

ความหมายของ การบริหาร การศึกษา การบริหารการศึกษา



การบริหาร
        การดำเนินงานของกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

การศึกษา
        เครื่องมือที่ช่วยพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้มีความเจริญงอกงามพัฒนาทางด้าน คุณภาพความรู้ ความคิด เป็นคนดี

การบริหารการศึกษา
        การรวมตัวของบุคคลเพื่อพัฒนาคนในสังคม ประเทศชาติ หรือกลุ่มบุคคลใดๆ ทางด้านความคิด ความรู้ ค่านิยม ทัศนคติ คุณธรรม เพื่อให้บุคคลเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่มคนนั้นๆ

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เเนะนำตนเอง

ชื่อ นางสาวปิยะภรณ์ พิศาลบัณฑิต ชื่อเล่น บี
เกิดวัน อาทิตย์  22 ธันวาคม 2534
ติดต่อ bee.pi.ya@hotmail.co.th
            bee.pi.ya@gmail.com
ที่อยู่ 537/4 หมู่ที่ 7 ตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
การศึกษา  
ชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดเขาน้อย
ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียวติวสุนธราภิวัฒก์
ปัจจุบัน  กำลังศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
               คณะครุศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์ รหัสนักศึกษา 5311103043
ปรัชญาการใช้ชีวิต
ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่การกระทำของเรา อนาคตเราจะดีหรือไม่ ไม่ได้อยู่ที่โชคชะตา เเต่อยู่ที่การกระทำในวันนี้
งานอดิเรกที่ชอบทำ  ออกกำลังกาย 
ความสามารถพิเศษ   ทำอาหารไทย