ทดสอบปลายภาค
1.แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ให้นักศึกษาอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า ใช้ Keywordว่า
"แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา"ให้เขียนเชื่อมโยง
วิเคราะห์ลงในบล็อกของนักเรียน
ความหมายของแท็บเล็ต
แท็บเล็ต ( Tablet ) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค
พกพาง่าย น้ำหนักเบา มีคีย์บอร์ด ( keyboard ) ในตัว
หน้าจอเป็นระบบสัมผัส ( Touch-screen )ปรับหมุนจอได้อัตโนมัติ
แบตเตอรี่ใช้งานได้นานกว่าคอมพิวเตอร์พกพาทั่วไป ระบบปฏิบัติการมีทั้งที่เป็น Android
IOS และ Windows ระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีทั้งที่เป็น
Wi-Fi และ Wi-Fi + 3G หรือความหมายอีกในหนึ่งคือของแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์กระดานชนวนก็คือ
แผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆ
แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสื่อต่างๆ เป็นปัจจัยสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากในการพัฒนาการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนของสังคมยุคใหม่
ตามนโยบายของรัฐบาลปัจจุบันมีนโยบายในการส่งเสริมเทคโนโลยีการศึกษาไทย
เพื่อให้การศึกษาไทยทัดเทียมกับนานาชาติ การใช้แท็บเล็ตเพื่อการศึกษาของประเทศไทยจะทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะแท็บเล็ตมีศักยภาพหลายอย่างที่เหมาะจะนำมาใช้ในการจัดการศึกษา
แต่อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมากหนักผู้จัดการเรียนการสอนจึงควรปรับแผนการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนด้วยแท็บเล็ต
จึงจะทำให้การจัดการเรียนการสอนด้วยแท็บเล็ตมีคุณภาพตามนโยบายของรัฐบาล
และนอกจากนี้แล้วครูผู้สอนควรมีความรู้ด้านสื่อเทคโนโลยีดีพอสมควร
ที่มา
2.อ่านบทความเรื่องสมาคมอาเซียนอ่านบทความอย่างน้อย 3 บทความหรือมากกว่า
ใช้ Keywordว่า "สมาคมอาเซียน" ให้เขียนวิเคราะห์
ประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา
เพื่อไปสู่อาเซียนได้อย่างไร
สมาคมอาเซียน
อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN :
The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่
8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน
คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527
บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก
ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน
พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด
10 ประเทศ
จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน
จุดประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน
1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย
ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก
การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น
ๆ
4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน
หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียน
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งสมาคมอาเซียน
ไทยมีบทบาทสำคัญในสมาคมอาเซียนมาตลอดได้ผลักดันโครงการความร่วมมือต่างๆของสมาคมอาเซียนให้สอดคล้องและทันต่อสถานการณ์
สภาพแวดล้อมของสังคมโลก เช่น การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน
การประชุมอาเซียนสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำให้อาเซียนมีอำนาจต่อรองกับประเทศภูมิภาคอื่นมากยิ่งขึ้น
ด้านเศรษฐกิจไทยยังได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น
เป็นผลดีให้แก่ประเทศไทยและประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย
ดังนี้
1. ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า
ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
2. ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช
ตัวถังรถยนต์
3. ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน
จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
4. ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า
5. ด้านการเมือง
สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
6. ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก
ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อกัน
การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู้ประชาคอมอาเซียน
การเตรียมตัวเพื่อเข้าสู้ประชาคมอาเซียนเราจะต้องมีความพร้อมทางด้านภาษาเพราะภาษาเป็นปัจจัยหลักในการติดต่อสื่อสารดำเนินกิจการต่างๆ
มีความรู้ทางด้านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยทันกับสภาพยุคสังคมที่เปลี่ยนไป
ถ้าเรามีความพร้อมในด้านนี้การที่เราจะศึกษาต่อหรือเป็นครูในกลุ่มประเทศก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
นอกจากนี้เรายังจะต้องเป็นบุคคลที่ทันต่อข่าวสารเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคมทุกๆด้าน
ไม่ว่าจะเป็นด้าน การเมือง สังคม เศรษฐกิจ ติดตามข่าวเกี่ยวกับความร่วมมือ ข้อตกลง
การประชุมของสมาคมอาเซียน ประเทศเพื่อนบ้านประเทศสมาชิก
ที่มา
3.อ่านบทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน
คำฟูแสง ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครู ให้ยกตัวอย่าง ประกอบ แสดงความคิดเห็น บทความ
ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
ครูที่จะเป็นทั้งครูผู้สอนและครูที่มีภาวะเป็นผู้นำได้
จะต้องเป็นครูที่มีความรักและศรัทธาต่อความเป็นครู มีคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาตนเองอยู่เสมอให้ทันต่อโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
ต้องหาหนังสือดีๆ มาอ่าน มีการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัยสร้างสรรค์ มีใจที่กว้างยอมรับในความแต่งต่างของบุคคลอื่น
ต้องรู้จักไว้ใจผู้อื่น มีแรงบันดาลใจในตัวเอง มีพัฒนาการในการสอนที่ดีไม่จมอยู่กับอดีตแต่มองไปที่ปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า
เป็นครูที่หาข้อมูลเกี่ยวกับการสอนตัวเด็กเพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
การจัดการเรียนการสอนจึ่งต้องให้เหมาะแก่เด็กแต่ละคน และในการจัดการเรียนการสอนก็จะต้องให้เด็กแสดงออกมีความกล้าที่จะทำในสิ่งดีๆ
มีเทคนิคการสอนที่ทันสมัยทันต่อเทคโนโลยีจนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนครูด้วยกันจึงจะเป็นครูที่มีภาวะผู้นำด้านการสอนและความเป็นครู
4.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและประเมินวิชานี้ว่า
การเรียนรู้โดยใช้บล็อก นักศึกษามีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
แสดงความคิดเห็นหากจะเรียนรู้โดยใช้บล็อก ต่อไปข้างหน้าโอกาสจะเป็นอย่างไร
ควรที่จะให้คะแนนวิชานี้อย่างไร และหานักเรียนต้องการจะได้เกรดในวิชานี้
นักเรียนจะต้อง
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน
4.4 ทำงานบทบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
4.6.อาจารย์จะพิจารณาจากผลงานและความตั้งใจ
ความซื่อสัตย์ตนเอง และบอกเกรดว่าควรจะได้เท่าไร แสดงความคิดเห็น
การเรียนด้วยบล็อกเป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยเหมาะกับสังคมเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
ซึ่งในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนนั้นยอมรับได้ว่าสื่อเทคโนโลยีมีความสำคัญ ที่ช่วยในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การเรียนด้วยบล็อกจึ่งเป็นการเรียนรูปแบบใหม่ที่เหมาะกับสังคมโลกปัจจุบัน และเป็นแนวการสอนแบบใหม่ที่มีความสร้างสรรค์ไม่เหมือนใคร
ซึ่งการเรียนการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนมีความคิดที่เปิดกว้างได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ไม่ปิดกั้นความคิดของผู้เรียน
ผู้เรียนได้หาความรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก และสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนด้วยบล็อกไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ
นำไปต่อยอดในการเรียนขั้นที่สูงกว่าต่อไปรวมถึงมีประโยชน์ในการที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพครูในวันข้างหน้าได้อีกด้วย
ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้วิชานี้ควรจะได้เกรดA
เกรดที่ควรได้ในวิชานี้คือเกรด
A เพราะ มีความพยายามอย่างมากในวิชานี้เพราะเป็นการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนในการเรียนวิชานี้จึ่งต้องมีความพยายาม
สิ่งใดที่ไม่เข้าใจก็จะถามเพื่อนถามอาจารย์ว่าทำอย่างไรอยู่เสมอ และพยายามจนเกิดความสำเร็จทุกครั้งไป
ในการมาเรียนก็ขาดเรียนเพียงแค่ครั้งเดียวเนื่องจากมีความจำเป็นบางประการ
นอกนั้นก็มาเข้าเรียนครบตรงตามเวลาทุกครั้ง
งานที่อาจารย์สั่งก็ทำส่งในบล็อกทุกครั้งด้วยความคิดเห็นความสามารถของตนเองไม่ใช่ความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นความจริง